เมนูหลัก
หน้าแรก
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง
แผนการจัดการเรียนรู้
กิจกรรม
โครงงาน / ผลงาน นักเรียน
กำหนดการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างฯ
   

ดาวน์โหลดเอกสาร
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
บันทึกความพอเพียง
ใบงาน Self-sufficient Economy
ใบงาน Self-sufficient Economy and Daily Life
ใบงาน VolunteerSpirits
แบบฟอร์มโครงงานแสดงผลงานนักเรียน
ในกิจกรรมตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียง
   
ลิ้งที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
   
พยากรณ์อากาศ


หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

 เป็นบทสรุปของเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง คือ สรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้

 3 ห่วง คือ ทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้
           ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน
          
ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
          
ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล


  2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
           
เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
           
เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต


  “เศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ คือ หลักการดำเนินชีวิตที่จริงแท้ที่สุด กรอบแนวคิดของหลักปรัชญามุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ในทุกระดับ ตลอดจนให้ความสำคัญกับคำว่าความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม”


  “หากทุกฝ่ายเข้าใจกรอบแนวคิด คุณลักษณะ คำนิยามของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแจ่มชัดแล้ว ก็จะง่ายขึ้นในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และจะนำไปสู่ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี”

ที่มา: http://เศรษฐกิจพอเพียง.net/